วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

« เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2008, 08:48:05 PM »


DOS (DISK OPERATING SYSTEM) คือ ระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC ซึ่งเป็นตัวกลางในการรับคำสั่งจากซอฟต์แวร์อื่น ๆ แล้วมา
ควบคุมฮาร์ดแวร์ให้ทำงานตามที่ต้องการระบบปฏิบัติการที่แพร่หลายมากที่สุดบนไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับเครื่องยุค 8 บิต คือ CP/M (Control Program for
Microcomputer) ของบริษํท ดิจิตตอล รีเสรีชจนพัฒนาถึงเครื่องยุค 16 บิต ระบบปฏิบัติการของบริษัทอื่นเข้ามาแทนที่ คือ DOS ของบริษัทไมโครซอฟต์
ซึ่งเป็น DOS ของเครื่องไอบีเอ็มพีซี (IBM Personal Computer)

การจัดเก็บข้อมูลในดิกส์
สามารถแบ่งเก็บเป็นกลุ่มที่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือเกี่ยวกับเรื่องเดียวกัน เรัยกว่าไฟล์เหมือนกับการที่เราจัดเอกสารเป็นแฟ้มนั่นเอง ข้อมูลที่เก็บ
ในไฟล์ออกเป็นส่วนย่อยที่มีขนาดคงที่เพื่อบันทึกลงในเนื้อที่แต่ละเซกเตอร์ของดิกส์ ซึ่งมีความจุข้อมูลที่เช่น 512 ไบต์ การบันทึกข้อมูลแต่ละเซกเตอร์ลงในดิกส์นี้
DOS เป็นตัวจัดการไห้ว่าส่วนไหนจะบันทึกลงตรงเซคเตอร์ไหนทั้งนี้แล้วแต่ว่าจะที่ว่างตรงไหน ดังนั้นไฟล์หนึ่ง ๆ บนแผ่นดิกส์อาจจะถูกแบ่เป็นส่วนย่อย ๆ จำนวน
มากจะจัดกระจายกันออกไปไม่ต่อเนื่องกัน

ไมโครคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับไมโครโปรเซสเซอร์มาก เพราะเป็นทีเดียวเท่านั้นที่ซีพียู (Central Processing Unit) จะใช้เก็บข้อมูล หรือโปรแกรม
ชั่วคราวได้ การทีหน่วยความจำอย่างเพียงพอ ซึ่งการออกแบบ CPU แต่ละครั้งมีข้อจำกัด ซึ่งข้อจำกัดนั้นอยู่ที่ บัสแอดเดรสภ้า 1 บิต มีค่าได้ 0 กับ 1 สามารถอ้างข้อมูล
ในหน่วยความจำได้ 8 ไบต์ เพราะ 2 ยกกำลัง 3 ได้ 8
บัส(Bus) หมายถึงถนนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ยิ่งกว้าง หรือมีช่องทางมากเท่าไรการส่งข้อมูลต่อครั้งจะยิ่งเร็วและมากขึ้น อธิบายทางกายภาพได้ว่า บัส คือ
กลุ่มของสายไฟหรือสายทองแดงบนเมนบอร์ด (Mainboard)

หน่วยความจำมี 2 ประเภท
Ram (Random access Memory) คือหน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม และหน่วยความจำที่อนุญาตให้คอมพิวเตอร์อ่านหรือเขียนได้ และเป็นหน่วยความ
จำชั่วคราวโดย Ram แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
DRam (Dynamic RAM) หน่วยความจำที่มีปริมาณความจุต่อชิป หนึ่งตัวสูงประหยัดไฟ
SRam (Static RAM) มีวิธีเก็บ 1,0 ที่แตกต่างไป โดยมันใช้การเปิดสวิตซ์ทรานซิสเตอร์แทน

ROM (Read-only Memory) หรือหน่วยความจำอ่านอย่างเดียว เป็นหน่วยความจำที่ไม่สามารถเขียนใหม่หรืออัปเดตได้ซ้ำสอง

ส่วนประกอบของ DOS
1. เมื่อมีการรีเซตระบบ หรือเปิดเครื่องใหม่จะเริ่มต้นใหม่ OFFFFOH ซึ่งเป็นตำแหน่งของ รอมบูต สแตร็ปรูทีน (ROM Boot-strap routine)
2. ROM - BIOS (ROM Basic Input Output System )คือโปรแกรทที่คอยควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
3. Boot record คือโปรแกรมสั้น ๆ ที่ถูกโหลดหรืออ่านจากแผ่นดิกส์ในหน่วยความจำ
4. IO.SYS เป็นโปรแกรมที่ทำนห้าที่ควบคู่ไปกับ Rom-BIOS ในการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต่อกับ PC
5. MSDOS.SYS คือส่วนบรรจุรูทีนการบริการของเอ็มเอสดอสการบริการต่าง ๆ
6. COMMAND.COM คือส่วนที่ผู้ใช้ทั้งหมดเกี่ยวกับข้องด้วย ซึ่งเราเรียกว่าตัวแปลคำสั่ง
7. AUTOEXEC.BAT ประมวลผลอัตโนมัติ

คำสั่งภายใน (Internal command)
คำสั่งภายใน เป็นส่วนโปรแกรมย่อยที่รวมกับ command.com เรียบร้อยแล้วเราสามารถเรียกใช้คำสั่งปฏิบัติงานได้ทันทีโดยไม่ต้องโหลด เช่น CCS,DIR,COPY ฯลฯ

คำสั่งภายนอก (Ecternal command)
คำสั่งภายนอก เปรียบเสมือนกับเป็นโปรแกรมประยุกต์แบบหนึ่ง ซึ่งเมื่อจะใช้งานจะต้องโหลดโปรแกรมจากดิสก์ก่อนหลังของคำสั่ภายนอกที่ใช้กันบ่อย เช่น FORMAT
DISKCOPY เป็นต้น

Batch file
เป็นไฟล์ที่เก็บคำสั่งต่าง ๆ เรียงกันเป็นบรรทัดเพื่อให้ DOS อ่านมาทำงานตามลำดับทีละคำสั่งตามลำดับก่อนหลังของคำสั่งต่าง ๆ ทำให้ประหยัดเวลาในการเขียนหลายคำสั่ง


การใช้โปรแกรม Debug
สามารถช่วยผู้ใช้ปรับปรุงข้อมูลในระดับ Byte ได้หากใช้เรียนรู้รหัส ASCII รีจิสเตอร์และโครงสร้างของแฟ้มที่จะปรับปรุงจนเข้าใจ

ไมโครโปรเซสเซอร์
หัวใจของเครื่อง PC คือ ไมโครเซสเซอร์(Microprocessor) หรือ หน่วยประมวลผลกลาง CPU (Central Processing Unit) ซึ่งเป็นชิปที่ใช้ประมวลผลข้อมูล
จริง ๆสำหรับชิปรุ่นใหม่ ๆ จะทำงานได้หลายอย่าง
ซีพียูควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยส่งสัญญาฯควบคุมตำตำแหน่งของหน่วยความจำ (Memoty address) และข้อมูลจากส่วนหนึ่งไปยังอักส่วนหนึ่งโดย
อาศัยระบบเชื่อมต่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า บัส (Bus)


คุณสมบัติของเซิร์ฟเวอร์
สำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของพีซีเน็ตเวอร์ที่ทันสมัย ควรมีคุณสมบัติดังนี้
-ประสิทธิภาพ(Performance)
-ความแข็งแรง(Robustness)
-ความปลอดภัย(Security)
-การจัดการเน็ตเวอร์(Network Management)
-การกระจายข้อมูลที่เห้นได้ตลอดและพลังงานในโปรเซส(Transparet disribution)


ฮาร์ดดิสก์คอนโทรลเลอร์
ฮาร์ดดิสก์จะต้องเชื่อมต่อบัสของระบบ เพื่อที่ว่าข้อมูลสามารถถ่ายโอนเข้าออกดิสก์ได้การอินเตอร์เฟซนี้ได้จากวงจร ฮาร์ดดิสก์ที่เรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ไดคอนโทรลเลอร์)
(Hard disk controller) ในขณะที่คอมพิวเตอร์ได้เพิ่มความเร็วมากขึ้น ก็ได้มีการออกแบบคอนโทรลเลอร์ใหม่ ๆ

คอนโทรลเลอร์แบบ ST-506 (Segate technology 506)
อาร์ดดิสก์รุ่นแรกจะใช้คอนโทรลเลอร์แบบ ST-506 ที่พัฒนาโดยบริษัทซีเกทคอนโทรลเลอร์รุ่นนี้จะแยกต่างหากจากฮาร์ดดิสก์ และติดตั้งบนการ์ดอะแดป
เตอร์ที่สียบปลั๊กเข้าในสล็อตจะควบคุมหนึ่งหรือสองฮาร์ดดิสก์ก็ได้
แต่เดิมมา st-506 ทั้งหมดใช้วิธีบันทึกข้อมูลที่เรียกว่า MFM (Modified Frequency Modulation) เพื่อบันทึกข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์


คอนโทรลเลอร์แบบ ESDI (Enhanced smalll device interface)
ESDI ซึ่งได้มาจากการปรับปรุงความเร็วของ ST-506 คอนโทรลเลอร์ ESDI ออกแบบมาให้เข้ากันได้กับ ST-506 แต่มีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลเร็วกว่า
อัตราที่เร็วกว่าได้มาจากการเปลี่ยแปลง 2 แย่างแรก
1. ตัวแยกข้อมูลติดตั้งบนไดร์ฟเอง ปฏิบัติการบนแถวของข้อมูลดิบ และแยกข้อมูลที่ใช้ประโยชน์จริง ๆ ออกจากข้อมูลควบคุม
2. ตำแหน่งกับข้อมูลชั่วคราว เรียกว่า เซกเตอร์บัฟเฟอร์ (Sector buffer)

คอนโทรลเลอร์แบบ SCSI (Smalll computer system interface)
SCSI คอนโทรลเลอร์ไม่ใช่ตัวเชื่อมต่ออาร์ดดิสก์ แต่ว่าเป็นต้วเชื่อมโยงทั่วไป สามารถใช้เป็นที่ติดต่อระหว่างอุปกรณ์ภายนอกต่าง ๆ และเครื่องพีซี
SCSI คอนโทรลเลอร์สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากถึงแปดอย่างกับพีซี

การอินเตอร์เฟซแบบ IDE (Integrated drive electronics)
การอินเตอร์เฟซแบบ IDE จะเป็นการอินเตอร์เฟซฮาร์ดดิกส์ ประสิทธิภาพสูงที่ใช้มากที่สุด IDE ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟและคอนโทรลเลอร์เป็นหน่วยเดียวกัน
คอนโทรลเลอร์ IDE จะมีข้อดีเช่นเดียวกับระบบ SCSI และความสามารถที่จะลียนแบบรูปแบบไดรฟ์ต่าง ๆ ระบบดิสก์ IDE ทำงานเร็วเท่าเทียมกับความสามารถของระบบ ESDI
และ SCSI ส่วนมาก

ซีดีรอมดิสก์
CD-ROM มาจากคำว่า Compact Disc-Read only Memoty เป็นอุปกรณืตัวเก็บข้อมูลแบบจานแสงที่ทำให้ใช้ข้อมูลได้มากมายในราคาที่สมเหตุสมผล CD-ROM
เป็นตัวกลางทางแสงระหว่างการผลิตข้อมูลจะถูกบันทึก บนผิวหน้าของดิสก์ในรอ่งเล็กละเอียดมาก โดยมีร่องหรือไม่มีรองให้สัญญาณบิต 0 หรือ 1 อย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างนำมา
เล่น

เครื่องพิมพ์เลเซอร์
เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะมีลักษณะการทำงานคล้ายกับเครื่องพิมพ์ถ่ายเอกสารอาจเรียกได้ว่าเป็นลูกครึ่งระหว่างเครื่องถ่ายเอกสารกับเครื่องพิมพ์

สรุปหลักการทำงานของเครื่องพิมพ์เลเซอร์
1. การชาร์จประจะลงบนผิวหน้าของดรัม (Condition stage)
2. การฉาบลำแสงเลเซอร์ลงบนผิวหน้าของดรัม(Writing stage)
3. การนำผงหมึกมาสร้างรูปภาพ (Developing stage)
4. การนำรูปภาพที่ได้ลงสู่กระดาษ (Transtering stage)
5. การอบกระดาษด้วยความร้อน (Fusing stage)
6. การทำความสะอาดดรัมไวแสง (Cleaning)
เมนู Star หรือปุ่ม Star อยู่บรรทัดล่างสุด ของจอภาพและยังมีเมนูประกอบด้วยย
Programs แสดงรายชื่อโปรแกรมที่สามารถเรียกใช้งาน
Documents แสดงรายชื่อเอกสารที่เคยถูกเรียกใช้งาน
Settings แสดงส่วนประกอบของระบบที่สามารถเปลี่ยนแปงได้
Find ค้นหาสิ่งที่ต้องการ
Help ขอคำแนะนำหรือส่วนช่วยเหลือ
Run เรียกโปรแกรมโดยใช้คำสั่งของ MS-DOS
Shout Dows เลิกการทำงานหรือเริ่มระบบใหม่

โฟล์เดอร์ภายใต้ WINDOWS
เมื่อเปิดเครื่อง แล้วผู้ใช้ปล่อยให้ Windows ถูกเปิดตามปกติ แฟ้มที่ถูกตรวจสอบยังเป็น config.sys และ Autoexec.bat แล้วจึงเข้าสู่ windows

โครงสร้างของระบบ Windows
วินโดว์ เติบโตจากการทำหน้าที่เป็นส่วนขยายกราฟิกสำหรับเอ็มเอสดอส สู่การรวมฟังก์ชันต่าว ๆของระบบปฏิบัติการไว้อย่างเต็มที่
เครื่องเวอร์ชวลระบบ(System virtual Machine-UM)
ซึ่งที่ให้กับเอนไวรอนเมนต์ใน windows 95 ที่สนับสนุนแอปพลิเคชั่นวินโดว์ทั้งหมด และส่วนประกอบระบบย่อยยองวินโดวส์

แอปพลิเคชั่ยวินโดวส์ 32 บิต (32 bit windows applications)
แอปพลิเคชั่นวินโดวส์ใม่ที่ใช้โมเดลหน่วยความจำ 32 บิต ของโปรเซสเซอร์ 80386 และกลุ่มย่อยของการเชื่อมต่อการโปรแกรมแอปพลิเคชั่น win 32

เซลส์ (Shell)
แอปพลิเคชั้น 32 บิตของวินโดวส์ซึ่งเตรียมการอินเตอร์เฟซกับผ้ใช้ที่สำคัญต่อระบบเซลส์ในโปรแกรมรวบรวม ฟังก์ชันของยูทิลิตี้ของวินโดวส์ 3.1 Progrm
Manager,file manager และ Task Manager ให้เป็น แอปพลิเคชั่นเดียวกัน

แอปพลิเคชั่น 16 บิต (16 bit windows application)
แอปพลิเคชั่น 16 บิต ที่รันภายใต้วินโดวส์ 95 จะแบ่งใช้พื้นที่ว่างเครื่องในการแอดเดรส และไม่สามารถจองทำงานการล่วงหน้าได้

ระบบที่แข็งแรง คือระบบที่ไม่หยุดการทำงานโดยกระทีนหัน ไม่ว่าจากผู้ใช้หรือจากโปรแกรมแอปพลิเคชั่น ถ้าโปรแกรมหนึ่งออกนอกสู่นอกหางไป ได้โดยไม่มีผลกระทบต่อ
โปรแกรมต่อโปรแกรมอื่น ๆ

การดูแลรักษาเครื่อง
1. ตรวจสอบ และซ่อมแซมดิสก์โดย ScanDisk
2. ลดความไม่ต่อเนื่องในดิสก์ Disk Dfragmenter
3. เพิ่มเนื้อที่เก็บข้อมูลด้วยการบีบอัดโดย DriveSpace

การใช้งานระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่าย (Network system) คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกถึงกันหรือเชื่อมต่อเครื่องศูนย์กลางนั่นเอง ซึ่งทำให้สามารถแบ่งทรัพยากรมาใช้ร่วมกันได้
เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือ เครื่องพิมพ์ เป็นด้น

คำสั่งที่ควรทราบ
API (Application Programming Interface) กลุ่มที่กำหนดไว้ก่อนของฟังก์ชันที่ระบบปฏิบัติการเตรียมมาให้แอปพลิเคชั่นใช้
Com (Component obiect Model) สถาปัตยกรรมที่จะแปลงมาจาก OLE ซึ่ง Microsoft กำลังจัดทำให้ com เป็นมาตรฐานทั่วไปในอุตสาหกรรม
GDI (Graphics Device Interface) คือส่วนประกอบของวินโดวส์ที่รับผิดชอบการทำฟังกืชันกราฟิก
DDE(Dynamic data exchange) คือรูปแบบเก่าของการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโปรแกรมแอปพลิเคชั่นที่ตรงกัน
DLL (Dynamic link library) คือห้องสมุดของฟังก์ชันที่แบ่งใช้กัน ซึ่งแอปพลิเคชั่นใช้เชื่อมหรือ เรัยกขณะประมวลผล
ODBC (Open Database Connectivity) คือมาตรฐานที่ไมโครซอฟต์กำหนดสำหรับให้แอปพลิเคช้นเข้าถึงระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ โดยวิธีของ API ทั้วไป
PCI คือคำจำกัดความของบัสที่อิลเทลเป็นผู้นำในการออกแบบการออกแบบออกแบบตั้งใจไว้ว่าจะให้การสนับสนุนฐานข้อมูล 32 บิต
PCMCIA คือ คำจำกัดความของบัสที่กำหนดอินเตอร์เฟซฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมสำหรับอุปกรณ์ภายนอก
Protocal คือ ระเบียบววิธีการ เป็นคำจำกัดความของการกระทำซึ่งกันและกันระหว่างส่วนประกอบสองอย่างของซอฟต์แวร์

UNIX คีอระบบปฏิบัติการหนึ่ง ที่ถูกพัฒนามาอย่างช้า ๆ ไม่น้อยกว่า 20 ปี จะเป็นระบบโอเอสเทคโนโลยีแบบเปิด (Open system)
ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้งานระบบไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่ง หรืออุปกรณ์ที่เป็นยี่ห้อเดียวกัน และยังได้รับการออกแบบเพื่อผู้ใช้สามารถใช้ได้
หลายคนในเวลาเดียวกัน (Multiusers)

ส่วนประกอบของระบบยูนิกส์มี 4 ส่วน
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เป็นส่วนของตัวเครื่องและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่รองรับการทำงานของระบบ
2. เคอร์เนลหรือแก่น (Kernel) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานในระดับล่างคือส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ทั้งหมดรวมถึงการจัดสรรการ
ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
3.เชลส์ (Shell) เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้กับส่วนของเคอร์เนล โดยเชลส์จะทำหน้าที่ในการรับคำสั่งจากผู้ใช้ แล้วทำการตีความหมาย
เพื่อส่งต่อให้กับส่วนอื่น
4. ยูทิลิตี้ (Utilities) เป็นส่วนของโปรแกรมและเครื่องมือในการทำงานบนระบบ

คำสั่งของยูนิกซ์ในยุคต้น ๆ ทำงานใน 2 ลักษณะ
1. Synchronous execution เป็นการทำงานตามคำสั่งจนจบจึงจะพร้อมรับคำสั่งต่อไปทำงาน ซึ่งเรียกว่าการทำงานฉากหน้า
2. Asynchronous execution เป็นการทำงานตามคำสั่งที่กำหนด พร้อมสร้างเซลส์ขึ้นใหม่เพื่อรับคำสั่งต่อไปโดยไม่ต้องรอให้
คำสั่งทำงานเสร็จสิ้น การทำงานลักษณะนี้เรียกว่า การทำงานฉากหลัง

ขั้นตอนการเริ่มต้นระบบของ UNIX
1.เปิดเครื่อง และอุปกรณ์รอบข้าง
2. อ่านยูนิกซ์ลงสู่หน่วยความจำ
3. กำหนดค่าเริ่มต้นสำหรับเคอร์เนล
4. ตรวจสอบ และจัดแบบฮาร์ดแวร์
5. สร้างกระบวนการของระบบ
6. เข้าสู่สภาวะควบคุมการทำงานโดยผู้ใช้
7. อ่านสคริปต์มาปฏิบัติงาน
8. เข้าสู่ระบบผู้ใช้หลายคน

การเข้าระบบ uinx ผู้ใช้ต้องมี ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ผู้บริหารระบบจะเป็นผู้กำหนดชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านให้ ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนรหัส
ผ่านตนเอง แต่ไม่สามารถเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ได้
ยูนิกซ์ได้ทำการกำหนดประเภทของผู้ใช้งานแฟ้มออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
-Owner เจ้าของแฟ้มหรือผู้สร้างแฟ้ม
-Group กลุ่มเจ้าของแฟ้ม
-Other or universe ทุกคน

คำสั่งใช้งาน
man ให้คำอธิบายคำสั่งต่าง ๆ เพิ่มเติมหากไม่เข้าใจ
is แสดงรายชื่อแฟ้ในห้องปัจจุบัน
id แสดงข้อมูลของตนเอง
who แสดงรายชื่อผู้ใช้ทั้งหมดที่กำลัง login ในระบบขณะนั้น
pwd แสดงชื่อห้องปัจจุบัน
date แสดงวันที่ และเวลาปัจจุบัน
banner ใช้แสดงอักษรขนาดโต เช่น banner wow
ps แสดงคำสั่งที่กำลังถูกประมวลอยู่
kill คำสั่งที่ใช้ส่ง และอ่านจดหมายได้
mail คำสั่งที่ใช้ส่ง และอ่านจดหมายได้
sort x จัดเรียงข้อความในแฟ้ม x จากน้อยไปมาก
clear ล้างจอภาพ
more ทำให้ดูทีละหน้าได้
passwd เปลี่ยนรหัสผ่านของตน
cal แสดงข้อมูลของเดือนทางจอภาพ
echo ใช้แสดงข้อความออกทางจอภาพ
talk ขอสนทนากับผู้ใช้คนอื่น
sleep หยุดการทำงานเป็นวินาที
grep ค้นหารูปแบบอักขระในแฟ้ม

เซลส์สคริปต์ (Shell script) คือชุดคำสั่งเซลส์ที่มีความสมบูรณ์พร้อมเมื่อเทียบกับชุดคำสั่งอื่น ๆ เพระนอกจากคำสั่งควบคุมทิศทาง
(if,case,while) ยังมีคำสั่งกว่า 300 สิ่งที่มากับยูนิกซ์ทำให้ผู้เขียนสามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้โดยง่าย

ข้อมูลและความรู้